วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552

c.p.u


ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU)
เขียนโดย เด็กดอย
ซีพียู (CPU)
ซีพียู (CPU : Central Processing Unit) เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกควบคุมด้วยซีพียู ภายในซีพียูจะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ซิลิกอน (Silicon)" เราจะนำซิลิกอนมาเจือกับวัสดุบางชนิดเพื่อให้เกิดสภาวะของการนำไฟฟ้าได้ ซิลิกอนที่ผ่านการเจือเหล่านี้จะถูกนำมาเรียงประกอบกันเป็นทรานซิสเตอร์ ซึ่งซีพียูตัวหนึ่งจะมีจำนวนหลายสิบล้านตัว

ส่วนประกอบของซีพียู
1. แพ็คเกจซีพียู เป็นรูปแบบของตัวซีพียูซึ่งส่วนมามีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปแบบแพ็คเกจซีพียูเดิมนิยมใช้เป็นเซรามิก (Ceramic) สังเกตได้จากซีพียูรุ่นเก่าๆ อย่าง 486 หรือ Pentium เวลาเคาะจะเป็นเสียงโลหะ ปัจจุบันนิยมใช้แบบพลาสติกเนื่องจากระบายความร้อนได้ดีกว่า (โลหะเก็บกักความร้อน)2. ตัวแกนของซีพียู คือ ไส้ในของซีพียูที่ประกอบไปด้วยซิลิกอนและสารกึ่งตัวนำ หรือกล่าวได้ว่าส่วนนี้แหละที่เป็นตัวซีพียูจริงๆ3. ขาซีพียู เป็นหน้าสัมผัสที่จะเชื่อมต่อกับซ็อกเก็ตของซีพียู ขาของซีพียูนิยมทำเป็นขาเข็มเสียบลงบนซ็อกเก็ต โดยมี Pentium 4 รุ่นใหม่ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปใช้แบบหน้าสัมผัสแทนขาเข็ม 4. ร่องบากซีพียู ใช้เป็นตำแหน่งหลักเพื่อช่วยติดตั้งซีพียูลงซ็อกเก็ตให้ถูกตำแหน่งของขาที่ 1 หากไม่มีร่องบากนี้เราจะไม่ทราบได้เลยว่าขาไหนของซีพียูควรติดตั้งด้านใดบนซ็อกเก็ตตัวซีพียูจะประกอบไปด้วยขาจำนวนมากสำหรับเสียบลงซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ด จำนวนขาของซีพียูแต่ละรุ่นจะแตกต่างกันไปตามลักษณะการออกแบบของผู้ผลิตซีพียู ล่าสุดอินเทลได้เปลี่ยนโฉมขาซีพียูใหม่ให้มีลักษณะเป็นหน้าสัมผัสทองแดง แทนที่จะเป็นขาเข็มเหมือนซีพียูทั่วไป โดยหน้าสัมผัสทองแดงนี้จะไปแตะกับขาเข็มบนซ็อกเก็ตแทน

ซีพียู Intel Pentium III แบบ Slot 1
ซีพียู AMD Athlon
หน้าที่ของ CPU (Central Processing Units) คือปฏิบัติตามชุดคำสั่งและควบคุมการโอนย้ายและประมวลผลข้อมูลทั้งหมด ส่วนต่างๆของซีพียูแยกเป็น ส่วนได้ดังนี้
1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) ประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัวคือ 0 กับ 1 มีความหมายว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ หรือ ถูก ผิด คำสั่งทุกคำสั่งที่ ไมโครโพรเซสเซอร์รับมาประกอบจากคำสั่งหลายๆคำสั่งที่โปรแกรมเมอร์คอมไพล์มาจากภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น (BASIC, COBAL, C) เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะเข้าใจคำสั่งเหล่านี้ จะต้องแปลงให้เป็นไบนารีก่อน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นใน decode unit ของไมโครโพรเซสเซอร์
2. แอดเดรส คือตัวเลขที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลในหน่วยความจำ หรือ Storage ข้อมูลที่ซีพียูประมวลผลจะแสดงด้วยแอดเดรสของข้อมูล ไม่ใช่ค่าจริงๆของข้อมูล
3. บัส ชุดของเส้นลวดนำไฟฟ้าที่เป็นทางเดินของข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งบัสในคอมพิวเตอร์คือบัสข้อมูล (Data bus) หรือระบบบัส (system bus) ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต หน่วยความจำหลักและซีพียู ภายในซีพียูเองก็มีบัสภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่าง หน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในที่ใช้ส่งผ่านข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ที่อยู่ภายในโครงสร้างย่อยในชิป
4. หน่วยความจำแคช แคชมีความสำคัญมากต่อซีพียู เพราะหากไม่มีหน่วยความจำที่เรียกว่าแคชแล้ว โปรเซสเซอร์ก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่สำหรับการ หยุดรอข้อมูลจากแรมซึ่งทำงานช้ากว่าแคชมาก โปรเซสเซอร์จะมีแคช 2 แบบคือ แคชระดับหนึ่ง (Primary cache หรือ L1) และแคชระดับสอง (secondary cache หรือ L2) ต่างกันตรงตำแหน่ง โดย L1 cache อยู่บนซีพียู เรียกว่า on-die cache ส่วน L2 cache อยู่บนเมนบอร์ด เรียกว่า off-die แต่ในปัจจุบัน L2 cache เป็น on-die กันแล้ว หน่วยความจำแคชเป็นที่เก็บคำสั่งและข้อมูลก่อนที่จะส่งให้ซีพียู
5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา หมายถึงจำนวนรอบที่ซีพียูทำงานเมื่อสัญญาณนาฬิกาในเครื่องผ่านไปหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกาแสดงด้วยหน่วย เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือเท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที (โปรเซสเซอร์คนละชนิดหรือคนละรุ่นถึงแม้จะมีสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน แต่อาจเร็วไม่เท่ากันก็ได้ เพราะมีโครงสร้างภายในและชุดคำสั่งที่แตกต่างกัน)
6. รีจิสเตอร์ เป็นหน่วยความจำไดนามิกขนาดเล็กที่มีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของโปรเซสเซอร์ รีจิสเตอร์ใช้เก็บข้อมูลที่ถูกประมวลผลไว้จนกว่าจะ พร้อมที่จะส่งไปคำนวณ หรือส่งไปแสดงผลให้แก่ยูสเซอร์
7. ทรานซิสเตอร์ เป็นจุดเชื่อมต่อแบบ 3ทางอยู่ภายในวงจรของโปรเซสเซอร์ ประกอบด้วยชั้นของวัสดุที่เป็นขั้วบวก และขั้วลบ ซึ่งสามารถขยายกระ แสไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น หรือขัดขวางไม่ให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ต่อ
8. Arithmetic logic unit (ALU) เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ใช้ในการคำนวณผลทางคณิตศาสตร์และการเปรียบเทียบเชิงตรรกะ การเปรียบเทียบ เชิงตรรกะเป็นการเปรียบเทียบค่าไบนารีเพื่อหาว่า ควรจะส่งสัญญาณไฟฟ้าผ่านเกตบางตัวในวงจรของโปรเซสเซอร์หรือไม่ การทำงานอยู่ในรูปแบบของ
"ถ้า x เป็นจริง และ y เป็นเท็จ แสดงว่า z เป็นจริง"
9. Floating - Point Unit (FPU) มีหน้าที่จัดการกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนที่เกี่ยวกับเลขทศนิยม หรือตัวเลขที่เป็นเศษส่วน การคำนวณเลขทศนิยมมักเกิดขึ้นเมื่อพีซีรันโปรแกรมพวกกราฟฟิก เช่นโปรแกรม CAD หรือเกมส์ 3 มิติ
10. Control Unit หลังจากที่ซีพียูรับชุดคำสั่งหรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาแล้ว หน่วยควบคุมนี้จะรับหน้าที่พื้นฐาน 4 อย่างด้วยกันคือ fetch โดยการส่งแอดเดรสของคำสั่งถัดไป ไปยังแอดเดรสบัส แล้วนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ในแคชคำสั่งภายในซีพียู decode โดยส่งคำสั่งปัจจุบันจากแคชคำสั่งไปยัง decode unit execute เริ่มกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตรรกะภายใน ALU และควบคุมการไหลของข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางที่เหมาะสม store บันทึกผลลัพธ์จากคำสั่งไว้ในรีจิสเตอร์หรือหน่วยความจำที่เหมาะสม
11. Decode unit รับหน้าที่ดึงคำสั่งภาษาเครื่องจากแคชคำสั่ง และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไบนารีโค้ด เพื่อให้ ALU สามารถนำไปใช้ประมวลผล
ซีพียูในเครื่องพีซีทั่วไปจะเป็นชิปไอซี (IC-Integrated Circuit) ตัวเล็กขนาดวางบนฝ่ามือได้ซึ่งเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ในตระกูลที่เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท อินเทล ที่เรียกกันว่าตระกูล 80x86 (x หมายถึงตัวเลขใด ๆ) เริ่มต้นตั้งแต่ 8086,80286,80386,80486 จนถึงรุ่นใหม่ที่ตอนพัฒนาใช้ชื่อรหัสว่า P5 แต่พอวางตลาดจริงก็เปลี่ยนชื่อจากเดิมที่จะเป็น80586 หรือ 586 ไปเป็น"เพนเทียม" (Pentium) ด้วยเหตุผลทางการค้าทีว่าชื่อ 586 เป็นเพียงตัวเลข 3 ตัว ไม่สามารถสงวนสิทธิ์การใช้งานและห้ามการลิกเลียนแบบในฐานะเครื่องหมายการค้าได้ รวมถึงรุ่นล่าสุดที่พุฒนาต่อจาก Pentium หรือ P6 คือ ตระกูล ซึ่งประกอบด้วย Pentium Pro และ Pentium II Pentium III, Pentium 4 processor และ ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีซีพียูจกบริษัทคู่แข่งอกจำหน่าย นั่นคือ Advance Micro Device หรือ AMD และยังรวมถึงรายย่อยอีก 2 ราย คือ Cyrix และ IDT ซึ่งทั้งสองรายนี้ปัจจุบันขายกิจการให้ VIA ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปเซ็ตรายใหญ่ของไต้หวันไปแล้ว
อ้างอิง

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)




คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์

คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก

ประวัติ
คีย์บอร์ดของ
ไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM ในรุ่นแรกๆ ประมาณปี ค.ศ. 1981 จะมีแป้นทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC-X และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้พัฒนาแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 84 แป้นพิมพ์มีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC-AT ต่อจากนั้นก็ได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ใช้เรียกว่า คีย์บอร์ด AT และพัฒนามาเป็นรุ่น PS/2 โดยมีแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก 17 แป้นพิมพ์รวมแล้วก็เป็น 101 แป้นพิมพ์

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) เป็นบทความเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ เครือข่าย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้นข้อมูลเกี่ยวกับ คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:เทคโนโลยีสารสนเทศ

แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์รับเข้า
ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทย จึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นพิมพ์ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า และเพิ่มจำนวนแป้นอีก รวมเป็น 101 แป้น
การเลือกซื้อ แป้นพิมพ์ควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว
หน้าที่ของแป้นพิมพ์ที่ควรรู้จัก
แป้นพิมพ์
หน้าที
Spacebar
ใช้ในการเว้นวรรค
BackSpace
ลบตัวอักษรที่ติดกับเคอร์เซอร์ทางด้านซ้าย
Delete
ลบตัวอักษรที่ติดกับเคอร์เซอร์ทางด้านขวา
Enter
รับคำสั่งไปปฏิบัติ หรือขึ้นบรรทัดใหม่
Insert
พิมพ์แทรก
Home
ไปจุดเริ่มต้น
Page Up
เลื่อนขึ้นไปหนึ่งจอภาพ
Page Down
เลื่อนลงไปหนึ่งจอภาพ
End
ไปที่จุดสุดท้ายที่ใช้งาน
Alt
กดคู่กับแป้นอื่นเพื่อเปลี่ยนการทำงาน
Ctrl
กดคู่กับแป้นอื่นเพื่อใช้คำสั่งพิเศษ
Shift
ยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรตัวบน
Scroll Lock
กดล็อคไม่ให้ขึ้นบรรทัดใหม่
Print Screen
พิมพ์จากจอภาพสู่เครื่องพิมพ์ ต้องกดคู่กับแป้น Shift
Esc
ยกเลิกการทำงาน
Tab
เลื่อนไประยะที่กั้นไว้ 5 ช่องตัวอักษร
CapsLock
ตัวพิมพ์ใหญ่ภาษาอังกฤษ

อ้างอิง : รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ช 0249 เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมารสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://ftp.school.net.th/
โดย : นาง ณัฐธิดา เชื้อคง, โรงเรียนสูงเนิน, วันที่ 31 ธันวาคม 2546